ซะกาตเงินเดือน ต้องจ่ายซะกาตไหม? การคิดคำนวณซะกาต
ทำงานกินเงินเดือนได้เดือนละ 23,000 บาท ต้องจ่ายซะกาตไหม?
กรณีทำงานได้เงินเดือนละ 23,000 บาทยังไม่ต้องจ่ายซะกาต ยกเว้นเก็บเงินเดือนและสะสมเอาไว้จนถึงจำนวนพิกัด (นิศอบ) ของซะกาต (คือ ทองน้ำหนัก 6 บาท ถ้าทอง 1 บาท 18,000 บาท จะได้พิกัดประมาณ 108,000 บาท ตีเลขกลมๆ 100,000 บาทคือพิกัด) ราว 100,000 บาทและเงินก็นิ่งอยู่อย่างนั้นจนครบปีก็จำเป็นต้องออกซะกาต 2.5%
การคิดคำนวณซะกาตเงินเดือน แต่ถ้าเงินเดือนที่สะสมครบรอบปีมีอัตราน้อยกว่า 1 แสนบาทก็ไม่จำเป็นต้องออก ส่วนถ้าคุณมีเงินเดือนละ 1 แสนบาทเมื่อได้รับเงินเดือนจำนวนนี้เป็นกรรมสิทธิจะออกซะกาต 2.5% ณ เวลาที่รับเงินเดือนในอัตรานี้เลยโดยไม่ต้องรอให้ครบรอบปี อย่างนี้ก็มีนักวิชาการกล่าวเอาไว้เช่นกัน
การคิดคำนวณซะกาต
ท่านนบีบอกว่าใครมี 20ดีนาร์ให้ออกซากาตครึ่งดีนาร์
1 Dinar = 4.25 g
20 Dunar = 85 g
เมื่อเทียบกับหน่วยทองคำของไทย
ทอง 1บาท = 15.244 g
ดังนั้นใครที่มีเงินเก็บ
85 / 15.244 = 5.576 บ.
หรือประมาณคร่าว
เงินเหลือเก็บครบรอบปีมีมูลค่า
เท่ากับทองข้างต้น
(โดยใช้ราคาทองในปัจจุบัน)
สมมุติว่าราคาทองปัจจุบัน
ราคาบาทละ 20,000 บาท
ทอง 5.576บาท จึงเท่ากับ
5.576 * 20,000 = 111,519 บ.
เพราะฉะนั้นถ้ามีเงินเก็บ
ครบรอบปีจำนวน 111,519 บาท
ต้องนำเงินส่วนนี้มาหักออก 2.5%
นำไปออกซะกาต
สูตรวิธีการคิดซะกาต
มีเงินเก็บแสนสองขึ้นไป
ให้นำ 40 มาหารกับจำนวนเงินดังกล่าว
ผลลัพธ์ก็ออกมา จาก 2.5 %
ตัวอย่าง 111,519 ÷ 40
= 2,787บ.