คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 


คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

สำหรับคนที่ถือศีลอดนั้นยังคงอยู่ในประเภทที่จำเป็นที่ต้องถือศีลอด นอกจากนางนั้นกลัวอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และลูกในท้องของนาง ในกรณีเช่นนี้อนุญาตให้นางละศีลอดได้

قال ابن عباس رضي الله عنهما في قوله تعالى ( وعلى الذين يطيقونه فدية طعام مسكين ) : " كانت رخصة للشيخ الكبير والمرأة الكبيرة وهما يطيقان الصيام ، يفطران ويطعمان عن كل يوم مسكينا ، والمرضع والحبلى إذا خافتا على أولادهما أفطرتا وأطعمتا " رواه أبو داود (2317) وصححه الألباني في إرواء الغليل 4/18،25

ท่านอิบนู อับบาสรอฏิยัลลอฮูอันฮูมาได้กล่าวไว้ว่า ในคำดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

((وعلى الذين يطيقونه فدية طعام مسكين))

“และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ) การชดเชย คือ การให้อาหารแก่คนยากจน”

“ได้มีการมีข้อผ่อนปรน แก่ชายหญิงที่สูงอายุ ที่ทั้งสองไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดได้ ให้ทั้งสองนไม่ต้องถือศีลอดได้ และทั้งสองจะต้องให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งคนทุกวัน

สำหรับคนที่ให้นมลูก หรือคนที่ตั้งท้องหนัก(ครรภ์แก่) หากกลัวว่า การถือศีลอดจะเกิดอันตรายแก่ลูกของเขา ให้ทั้งสองไม่ต้องถือศีลอด และให้ทั้งสอง ชดเชยด้วยกับการให้อาหาร”

(บันทึกโดย อาบู ดาวุด หะดีษที่ 2317 และที่เชคอัลบานีย์ ได้ให้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง โดยกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอิรวาอุล ฆอลีล 4/1825 )

คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

สมควรทราบไว้สำหรับการละศีลอดของคนท้อง มีทั้งที่อนุญาต และ จำเป็นต้องละศีลอด และห้ามละศีลอด สำหรับในกรณีที่อนุญาตให้ไม่ต้องศีลอดได้ หากว่าการถือศีลอดสร้างความลำบากให้แก่นาง แต่ว่าการถือศีลอดไม่ได้ให้โทษแก่นาง และในกรณีที่นางจำเป็นที่ ไม่ต้องถือศีลอด หากการถือศีลอดเป็นอันตรายแก่ตัวของนาง และลูกของนาง และในกรณีที่ห้ามละทิ้งการถือศีลอด หากว่าการถือศีลอดไม่ได้สร้างความลำบากใดๆ แก่นาง

ท่านเชค อิบนู อุซัยมีน รอฮิมาฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า สำหรับผู้หญิงนั้นมีอยู่สองสภาพด้วยกัน

สภาพที่หนึ่ง  นางเป็นผู้ที่มีร่างกายที่แข็งแรงมีความกระฉับกระเฉง และการถือศีลอดของนางไม่มีความลำบากแต่ประการใด แก่ตัวของนางและลูกในท้องของนาง สำหรับผู้หญิงประเภทนี้จำเป็นต้องถือศีลอด เนื่องจากนางไม่มีอุปสรรคใดๆ ที่ทำให้นางต้องละทิ้งการถือศีลอด

สภาพที่สอง ผู้หญิงที่ไม่สามารถที่จะถือศีลอดได้ เนื่องจากความเหนื่อยยากจาการอุ้มท้อง หรือว่าร่างกายของนางนั้นอ่อนแอ หรืออุปสรรคนอกเหนือจากนี้ สำหรับสภาพนี้ให้ละทิ้งการถือศีลอด โดยเฉพาะ หากการถือศีลอดมีอันตรายต่อลูกในท้อง หากเป็นเช่นนั้นจำเป็นจะต้องละทิ้งการถือศีลอด

จากฟัตาวา ท่านเชคอุซัยมีน 1/ 487

ท่านเชคบิน บาส รอฮิมาฮุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ว่า

“สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก ฮุกุมของนางนั้นเหมือนกับคนป่วย หาการถือศีลอดสร้างความลำบากให้แก่นางทั้งสอง ก็ให้ไม่ต้องถือศีลอด แต่ทั้งสองนั้นต้องถือศีลอดชดใช้ ในขณะที่สามารถจะชดใช้ได้ เหมือนกับคนป่วย

แต่มีนักวิชาบางท่าน ได้มีทัศนะ การชดเชยด้วยการ ให้อาหารแก่คนจนหนึ่งคนทุกวัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะที่อ่อนแอ่ ที่ถูกต้อง คือ จำเป็นแก่นางทั้งสอง(หมายถึงหญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมลูก)”

คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

เนื่องด้วยคำดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

فمن كان منكم مريضا أو على سفر فعدة من أيام أخر) البقرة / 184

“ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเจ็บป่วย หรือว่าเดินทาง ก็ให้ไปถือใช้ในวันอื่น”

، وقد دل على ذلك أيضا حديث أنس بن مالك الكعبي أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : " إن الله وضع عن المسافر الصوم وشطر الصلاة ، وعن الحبلى والمرضع الصوم " رواه الخمسة ) .

และได้ระบุในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน หะดีษของท่านอะนัส บิน มาลิก อัลกะบีย์ ว่าแท้จริงท่านรอซูลุลอฮ์ ได้กล่าวว่า

“ แท้จริงอัลลอฮได้อนุญาตให้แก่ผู้ที่เดินทาง ในการละหมาดย่อและสำหรับหญิงที่ตั้งครรค์ และหญิงที่ให้นมลูก เรื่องการถือศีลอด (หมายถึงอนุญาตให้ละศีลอดได้)”

จากหนังสือ ตัวะฟาตุลอิกวาน หน้าที่ 17

คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ คนตั้งครรภ์ ขณะถือศีลอด มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

ช่วงเวลาถือศีลอดนั้น ต้องมีการอดอาหารตั้งแต่เช้าจนถึงหัวค่ำ ซึ่งการรับประทานอาหารจึงมีแค่ 2 ช่วงเวลาเท่านั้น คือ

1. ช่วงซาโฮร (กอนถึงเวลาละหมาดซุบฮฺ) และ 2. ช่วงละศีลอด (ตอนหัวค่ำ) ด้วยเหตุนี้หญิงตั้งครรภ์ควรใส่ใจการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

1. ช่วงทานอาหารซาโฮร (กอนถึงเวลาละหมาดซุบฮฺ)

- ช่วงเวลา ซาโฮร ถือว่าเป็นมื้อสำคัญที่หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรละเลย เนื่องด้วยเป็นมื้ออาหารที่ร่างกายได้รับสารอาหาร เพื่อเป็นพลังงานในช่วงกลางวันที่ถือศีลอด ทั้งนี้การทานอาหารเพื่อความพอดีกับร่างกาย แนะนำให้ทานอาหาร ประเภทดังต่อไปนี้ :

- ข้าวกล้องและขนมปัง กับข้าวที่มีเส้นใยสูง พร้อมด้วยธัญพืชต่างๆ และนมพร่องมันเนยไข่มันต่ำ

- ควรทานผลไม้ เช่น อิทผาลัม กล้วย เป็นต้น

- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม ในระหว่างมื้ออาหาร เพราะอาจจะทำให้ขาดน้ำได้ 

คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

2. ช่วงเวลาละศีลอด (ตอนหัวค่ำ)

- เริ่มต้นการละศีลอดด้วยการทาน อินทผาลัม 3 เม็ด, น้ำอุ่น และ น้ำผลไม้ (ดีต่อสุขภาพเพื่อเป็นการปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ)

- ทานนมไข่มันต่ำ หรือ โยเกร์ต

- ซุปใส

- จากนั้นควรทานอาหารที่สมดุล อาจจะทานสลัดเป็นอาหารทานเล่น

- ควรได้รับอาหารที่ประกอบไปด้วยโปรตีน เช่น ปลา ไก่ ถั่ว เป็นต้น

- ควรรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ถั่วต่างๆ และผลไม้

- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีไขมันสูง, อาหารที่ไม่มีประโยชน์, และ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ หรือแม้แต่น้ำอัดลมก็ควรจะหลีกเลี่ยง

*ไม่ควรทานอาหารในช่วงเวลาที่ดึกเกินไป อย่างไรก็ตามไม่ควรละเลยช่วงเวลา ซาโฮร เช่นกัน

คนตั้งครรภ์ ถือศีลอดหรือไม่? 

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

- ให้หญิงตั้งครรภ์ทำการออกกำลังกายในท่วงท่าที่ สบายๆ ไม่หนักจนเกินไป เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นนะคะ 

- พักผ่อนให้เพียงพอ

ที่มา: www.islammore.com  / beritamuslimmag.com

มาแรงรอบสัปดาห์